รากแก้วความสุข Grass Root of Authentic Happiness
[Date : 4 June 2022 ]
 
Talent iceberg of Leadership
[Date : 21 June 2022 ]
 
Unlock Leadership Potential(1)
[Date : 10 May 2022 ]
 
ไข้หวัดเม็กซิโกกับปรัชญา : Only Paranoid Survive
 

ไข้หวัดเม็กซิโกกับปรัชญา : Only Paranoid Survive


        ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ว่าจะเกิดจากปัจจัยต่างๆ ในซีกโลกใดสามารถที่จะมีผล กระทบไม่มากก็น้อยกับคนทั้งโลก ดั่งผลกระทบที่เรียกว่า Butterfly Effect นั่นก็คือ ผีเสื้อกระพือปีกที่ซีกโลกหนึ่งแต่ทำให้เกิดพายุเออร์ริเคนในอีกซีกโลกหนึ่ง  ผู้ที่มีสติรู้เท่าทันสัญญาณการเปลี่ยนที่เกิดขึ้นก่อนคนอื่นจะมีโอกาสสร้างความพร้อมในการรับมือและสามารถสร้างความได้เปรียบในการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส
     ผู้บริหารชั้นนำหลายท่านมักจะกล่าวถึงปรัชญาแนวคิดที่กล่าวว่า  Only Paranoid Survive  เป็นแนวความคิดทางการบริหารที่น่าสนใจของ แอนดรูว์ โกรฟ อดีต  Chairman และCEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ Intel  ที่เขียนกล่าวไว้ว่าในหนังสือ Best Seller ของเขาว่าผู้ที่ตระหนักกับกระแสการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจะเป็นผู้ที่จะอยู่รอด นับเป็นข้อคิดและปรัชญาที่น่าสนใจไม่ใช่แค่ระดับองค์กรชั้นนำและรวมถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศด้วย
     แอนดรูกล่าวไว้อย่างน่าสนใจถึงจุดผกผันหรือที่เรียก่า  Strategic  Inflection Points ที่เป็นจุดที่ใครสามารถมองเห็นแนวโน้มของจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนี้ก่อนคนอื่นและสามารถที่จะบริหารโอกาสที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกจุดถูกเวลาก็สามารถจะยืนอยู่บนยอดคลื่นของวิกฤตได้อย่างสบาย  ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนลี่สารสนเทศและการขนส่งระหว่างประเทศสามารถย่อโลกใบนี้ให้เล็กลงและสามารถติดต่อกันในทุกแห่งในโลกได้อย่างง่ายดายแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นตัวเร่งวัฐจักรของจุดผกผันให้เกิดขึ้นให้เกิดขึ้นได้รวดเร็วและมีความถี่ในการเกิดมากขึ้น ถ้าองค์กรสามารถจะเรียนรู้จากกระบวนการที่ประเทศต่างๆ หรือแม้แต่องค์กรอนามัยโลกที่สร้างกระบวนการส่งสัญญาณเตือนภัยและมีมาตรวัดความรุนแรงของวิกฤตเกิดขึ้นเพื่อเฝ้ามองการแพร่ระบาดของวิกฤตของไข้หวัดเม็กซิโกที่แพร่กระจายไปในประเทศต่างๆ ทำให้เกิดผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ
     ในอดีตองค์กรสามารถวางแผนกลยุทธ์ระยะยาว 3-5 ปีแล้ค่อยมาพิจารณาถึงการปรับเปลี่ยนทิศทาง ความไม่ต่อเนื่องทางธุรกิจไม่ว่าในรูปแบบของสินค้าหรือบริการที่เกิดจากจุดผกผัน จะใ้ช้เวลานานกว่าจะเกิดขึ้น มีเวลาเตรียมความพร้อมทั้งในการพัฒนาและปรับเปลี่ยน องค์กรที่สามารถจะบริหารจุดผกผันของวิกฤตในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพจำเป็นต้องคำนึงจุดสำคัญ 2 ประการ

        1. ตระหนักถึงกระแสความแรงและเร็วการเปลี่ยนแปลงก่อนคนอื่น  การมองแบบไม่ยึดติดกับกรอบความคิดเดิมเป็นสิ่งสำคัญและเปิดกว้างในการเห็นธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงอย่างที่มันเป็นจริงๆ ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากให้เป็น ถ้าเราเคยดูหนังเรื่อง ไททานิก จะเป็นจะเห็นได้ชัดว่าคนที่ตระหนักถึงภัยอันตรายของการที่เรือชนภูเขานำ้แข็งและเตรียมพร้อมรับมือกับการจมของเรือจะสามารถอยู่รอดได้ แต่ผู้ที่มีกรอบความคิดและมีความเชื่อที่ว่าเรือไททานิกไม่มีวันจมก็จะประมาทและไม่เตรียมกระบวนการหาทางลอดก็จะเสียชีวิตเป็นส่วนใหญ่

        2. มีความสามารถในการบริหารช่องว่างให้เกิดเป็นโอกาส  เมื่อเราตระหนักถึงวิกฤตที่กำลังถาโถมเข้ามาเราจำเป็นต้องมีความพร้อมในการปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างทันเเหตุการณ์ ปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มตระหนักของความเร็วและความถี่ของจุดผกผันที่จึงต้องมีการปรับตัวแบบที่เรียกว่า  On-demand  ก็คือสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายในแต่ละส่วนของโลกตามความต้องการด้วยความรวดเร็ว
ผู้เขียนมีโอกาสในการเป็นที่ปรึกษาให้กับหลายองค์กรในการรับมือกับโอกาสที่ผุดขึ้นมาภายใต้วิกฤตโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีกระบวนสร้างความพร้อมของTalent Portfolio โดยทีมของผู้เขียนได้ใช้แบบสอบถาม Multi-Dimension  Intelligence Profile Assessment   หรือความถนัดเชิงอัจฉริยภาพเพื่อค้นหาอัจฉริยภาพที่ซ่อนเร้นอยภายใน  ความสามารถและความเก่งที่แสดงออกมา ทักษะที่ต้องการในงานตลอดจนความสามารถในการบริหารอารมณ์
ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือประเทศถ้าเราตระหนักและเห็นกระแสความวิกฤตได้อย่างรวดเร็วและสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงให้เป็นโอกาสทองจะไม่เพียงเป็นผู้อยู่รอดแต่ยังสามารถก้าวไปอยู่บนยอดคลื่นของวิกฤตได้อย่างสง่างาม

 


 
โดย อาจารย์กฤษณ์ รุยาพร  E-mail : kris@e-apic.com, Mobile 081-617-7785 
บทความได้รับการเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ 


Home    l    About Us    l    Education Program    l    Consulting    l    Clients    l    Online Test
Books & Multi    l    Apic Leadership Review    l    Contact Us