รากแก้วความสุข Grass Root of Authentic Happiness
[Date : 4 June 2022 ]
 
Talent iceberg of Leadership
[Date : 21 June 2022 ]
 
Unlock Leadership Potential(1)
[Date : 10 May 2022 ]
 
Team Building with Journey to the Peak สู่ยอดเขาเพื่อสร้างทีมที่เป็นเลิศ
 

Team Building with Journey to the Peak 
สู่ยอดเขาเพื่อสร้างทีมที่เป็นเลิศ





การผจญภัยสู่ยอดของขุนเขาที่มีธรรมชาติอันเป็นหนึ่งเดียวกับอุปนิสัยของทีมงานเปรียบเสมือนคำพูดที่ว่า “Select the right mountain with the right heart” เป็นการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์เพื่อพิชิตอุปสรรคในการสร้างวุฒิภาวะ (Maturity Fitness) ของทีมงานสู่ความเป็นหนึ่งเดียวที่เต็มเปี่ยมด้วยพลัง (Hi-Trust Hi-Performance Team)
การเลือกธรรมชาติของขุนเขาที่จะปีนเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทักษะของการสร้างทีมงานในการปีนเขาร่วมกันเพราะแต่ละภูเขาก็มีธรรมชาติที่แตกต่างกันและต้องการทักษะและการปรับตัวของทีมงานเพื่อผ่านอุปสรรคที่แตกต่างกัน ผู้เขียวมีโอกาสนำทีมผู้บริหารระดับสูงไปพิชิตยอดเขาไม่ว่าจะเป็นที่ภูกระดึงที่ท้าทายในเมืองไทย ยอดเขาคีนาบาลู (Mount Kinabaru) ที่สูงสุดในเอเซียอาคเนย์ตลอดจน Everest Himalayan Range ในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งแต่ละขุนเขาก็ต้องการอุปนิสัยพื้นฐานและการสร้างความพร้อมของทักษะของทีมงานที่แตกต่างกัน
ปัจจัยสำคัญในการสร้างทีมที่เป็นเลิศเพื่อก้าวสู่ยอดเขาก็คือ
1. Maturity Fitness วุฒิภาวะของทีมงาน  จุดเริ่มต้นที่สำคัญก็คือการรู้จักความสามารถทั้งในด้านร่างกาย สมองและหัวใจจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งว่าเราจะไปขึ้นเขาสูงได้ขนาดไหน ถ้าเราไม่รู้จักประเมินตัวเองและทีมงานเราอาจจะวางแผนตำ่กว่าหรือมากกว่าความสามารถที่แท้จริง
การรู้จักอุปนิสัยพื้นฐานของทีมซึ่งเป็นเสมือนสไตล์ของทีมว่าจะมีความชอบและความสุขในการปีนภูเขาแบบไหน บางคนชอบผจญภัยเจอสิ่งใหม่ๆ ถ้าทางเดินเป็นแบบเรียบง่ายเหมือนกันหมดก็จะไม่สนุกและท้าทาย ในขณะเดียวกันถ้าทีมงานชอบอยู่ในกรอบการเดินทางที่มองภาพชัดเจนแบบคมชัดลึกก็จะไม่ชอบผจญภัยที่ต้องปรับเปลี่ยนโดยที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า
2. Dare to dream กล้าที่จะฝัน  การเข้าถึงความท้าทายและความฝันในหัวใจของแต่ละคนในทีมงานจะเป็นตัวชี้วัดปริมาณความสูงที่ทีมงานกล้าก้าวขึ้นไปพิชิต ผู้เขียนเคยถามทีมผู้บริหารในองค์กรที่มิได้มีการสื่อสารกันมากนักจะมีความเชื่อในหัวใจถึงความสูงที่อยากไปปีนไม่เหมือนกัน บางคนโดยเฉพาะคนใหม่ที่เป็นผู้นำไฟแรงอยากไปให้ถึงยอด
เอเวอเรสต์ที่ความสูงในระดับ 8,800 เมตร ในขณะที่ผู้บริหารที่อยู่มานานไฟเริ่มมอดมักจะบอกว่าแค่ดอยอินทนนท์สูงสุดในเมืองไทยก็พอแล้วจะเหนื่อยไปทำไม
การประสานความคิดและหัวใจที่คนใหม่จะต้องกล้าสื่อสารทั้งเหตุผลในความคิดและสะกิดต่อมสุขใจเพื่อลดความกลัวและเพื่อความศรัทธาในการกล้าเดินไปในทิศทางที่ยังไม่เคยไปเป็นศิลปะที่ท้าทายอย่างยิ่งเพราะถ้าการสื่อสารทั้ง Why, What, How ยังไม่ชัด คำมั่นสัญญาและความกล้าในการเดินทางก็จะไม่เกิดขึ้นเหมือนกัน
3. Select the right mountain รู้จักเลือกยอดเขาที่ธรรมชาติสอดคล้อง  เมื่อความสูงเปรียบเสมือนเป้าหมายของการเดินทาง การหาขุนเขาที่เหมาะกับธรรมชาติของทีมงานก็เป็นการวาง Strategic move ที่สำคัญ ถ้ากรอบความคิดของทีมยังเป็นเสมือน Red ocean strategy ก็คือ ยังวังวนอยู่ในวิถีทางเดิมที่การแข่งขันสูงและเป็นสงครามตัดราคา การเดินทางจะเหนื่อยและเกิดความล้าได้ง่าย แต่ถ้าทีมงานหยุดพิจารณาถึง Blue Ocean Strategy และความสูงที่ตรงกับต่อมสุขใจของทีมงาน ทำให้ทีมงานสามารถสร้าง Value innovation ที่มีพลังของความชอบและความเก่งของทีมงานด้วยแล้ว การเดินทางก็จะมีทั้งความสุขและเสียงหัวเราะ
ผู้เขียนเคยพาทีมผู้บริหารไปในระดับความสูงประมาณ 4,000 เมตรซึ่งมีเขาให้เลือก 2 แบบก็คือ ยอดเขาคีนาบาลูในมาเลเซียและหมู่บ้านสุดท้ายสู่ยอดเอเวอเรสต์ (Namcha Bazzar) ในเนปาล ซึ่งมีลักษณะธรรมชาติของความชัน ภูมิทัศน์และจุดพักเพื่อปรับตัวสู่เป้าหมายที่แตกต่างกัน ความเหนื่อยล้าและความสนุกของทีมงานที่มีสมองด้านซ้ายและสมองด้านขวาจะมีรสชาติและความสนุกในการเดินทางแตกต่างกัน 
4. The Right Obstacle ผ่านอุปสรรคที่เลือกสรรแล้ว  การเตรียมการจำลองการเรียนรู้บนภูเขาสูงเพื่อให้ทีมได้ช่วยวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค การหาแนวความคิดในการหาคำตอบเมื่อเจออุปสรรคที่ต้องคิดนอกกรอบ การวางแผนรายละเอียดเพื่อประเมินความเหนื่อยล้าและการหยุดพักเพื่อเติมพลังตลอดจนการเล่นบทบาทที่ถูกกับอุปนิสัยพื้นฐานเพื่อสะกิดต่อมสุขใจในการปลุกพลังที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในเป็นบทเรียนที่จะพิสูจน์วุฒิภาวะของผู้นำทั้งในด้าน  ร่างกาย (Body) ความกล้าแข็งของจิตใจ (Brave heart) ตลอดจน ความสามารถในการสะกิดความเก่งของความถนัดเชิงอัจฉริยภาพ (Brain) ในบทบาท และจังหวะเวลาที่เหมาะสมเพื่อต่อยอดความเก่งกับทีมงานที่มีความแตกต่างกัน
5. Double leadership reflection เรียนรู้จากประสบการณ์และการประยุกต์ใช้  การเรียนรู้ที่เรียกว่า Double leadership reflection เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ผู้นำทีมจะต้องสามารถกระตุกการเปลี่ยนแปลงของกรอบความคิด ทัศนคติ การพึ่งพาอาศัยและการรวมพลังของทีมอย่างถูกจังหวะและเวลารวมถึงการประสานพลังและแรงใจเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายและสามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในองค์กร
ผู้นำที่ผ่านประสบการณ์การพิชิตยอดขุนเขากล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าการเรียนรู้จากพิชิตยอดเขาสูงเป็นสิ่งที่มีค่าที่สามารถสร้างศรัทธาในตัวเองและชื่นชมทีมงานที่สามารถปรับเปลี่ยน Maturity sickness ให้กลายเป็น Maturity Fitness เพื่อก้าวสู่เป้าหมายร่วมกัน 



 
โดย อาจารย์กฤษณ์ รุยาพร  E-mail : kris@e-apic.com, Mobile 081-617-7785 
บทความได้รับการเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์


Home    l    About Us    l    Education Program    l    Consulting    l    Clients    l    Online Test
Books & Multi    l    Apic Leadership Review    l    Contact Us