รากแก้วความสุข Grass Root of Authentic Happiness
[Date : 4 June 2022 ]
 
Talent iceberg of Leadership
[Date : 21 June 2022 ]
 
Unlock Leadership Potential(1)
[Date : 10 May 2022 ]


Leadership Voyage Program
โครงการพัฒนาสมรรถนะสู่วิถีผู้นำ
 

วัตถุประสงค์ของโครงการ
Leadership Voyage Program คือ โครงการฝึกอบรมที่จัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมสู่วิถีผู้นำให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ โดยเน้น การขัดเกลาความคิดสู่การเป็นผู้นำที่เปี่ยมไปด้วยสมรรถนะ, การชี้แนะแนวทางการกำหนดเป้าหมาย การทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์, การชี้แนะเทคนิคการนำสมรรถนะที่โดดเด่นมาสร้างเป็นแบรนด์ผู้นำของตนเอง และการเสริมสร้างวิสัยทัศน์ให้กับผู้เข้าร่วม โครงการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้นำที่มีความเป็นเลิศ ด้วยการสร้างความตระหนักถึงสมรรถนะ และเอกลักษณ์ ที่โดดเด่นของตนเองเพื่อนำสมรรถนะและ เอกลักษณ์ที่โดดเด่นนี้มากำหนดพิมพ์เขียว (Blueprint) และสร้างแผนการเดินทาง (Action plan) สู่วิถีผู้นำของตนเอง เพื่อให้ไห้มาซึ่งผล


สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิต ทั้งนี้โครงการพัฒนาสมรรถนะสู่วิถีผู้นำ Leadership Voyage Program แบ่งการฝึกอบรมออกเป็น 2 phases ดังนี้
 


Phase I : การสร้างความตระหนักในสมรรถนะและความสามารถในการบริหารสมรรถนะของตนเอง (2 วัน)
เริ่มจากการทดสอบสมรรถนะ และการทดสอบความสามารถ ในการ บริหารสมรรถนะ ของผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคน ด้วยแบบสอบถาม ความถนัดเชิงอัจฉริยภาพ ให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนได้ตระหนัก ถึงสมรรถนะ และพลังแฝงที่หลบซ่อนอยู่ภายในตนเอง เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง และกระตุ้นตลอดจนสร้างความสนใจ ใฝ่รู้ที่จะพัฒนา สมรรถนะของตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้วยการค้นคว้าหา ความรู้ที่จะพัฒนา ปรับปรุง และประยุกต์ใช้ความรู้เชิงวิชาการและ เทคโนโลยีต่างๆ เข้ากับการปฎิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์
 
หัวข้อการสัมมนา (Topics covered)

• กรอบความคิดในการพัฒนาวุฒิภาวะการทำงานภายใต้ความผกผันของภาวะแวดล้อม
• การสร้าง Self-Awareness เพื่อค้นหาและทำความรู้จักกับสมรรถนะของตนเอง
  ด้วยการวิเคราะห์ความถนัดเชิงอัจฉริยภาพ
• ค้นพบเส้นทางสู่ความสำเร็จที่เหนื่อยน้อยที่สุดของตนเอง   เพื่อนำธรรมชาติของความถนัดที่พบเจอออกใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
• การค้นหาช่องว่างระหว่างอุปนิสัยพื้นฐาน, ความถนัดและทักษะ กับงานภายใต้ความรับผิดชอบ
• การกำหนดทักษะและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของตนเอง (most preference skills)
• การวิเคราะห์ทักษะที่สร้างความเครียด (least preference skills)
• การให้คุณค่ากับความต่างและการประสานความเก่งของตนเองเข้ากับทีมงาน
• เทคนิคการปรับแต่งและการปลดปล่อยศักยภาพเพื่อสร้างผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน

 



Phase II : การกำหนดวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำและการสร้างพิมพ์เขียวในการเดินทางสู่วิถีผู้นำของตนเอง (2 วัน)
คือการนำสมรรถนะและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของตนเองที่ได้จาก Phase I  มากำหนดเป้าหมายในการเดินทางสู่การเป็นผู้นำ (Vision of success), กำหนดแบรนด์ของตนเอง (Leadership Branding) และกำหนดแผนการเดินทางสู่วิถีผู้นำของตนเอง (Action plan) ในการปฏิบัติ  พร้อมทั้งสร้างสรรค์พัฒนาผลงานหรือกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อ สั่งสมพัฒนาศักยภาพ อย่างต่อเนื่อง  โดยเน้นหลักการสร้างความเป็นเลิศในการประประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีให้เกิดผลสัมฤทธิ์  ด้วยการพัฒนาทีมงาน ผลงาน กระบวนการทำงาน และ องค์กรให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา

 
หัวข้อการสัมมนา (Topics covered)
• การกำหนดค่านิยมในการทำงานและการดำรงชีวิต
• การวิเคราะห์มลพิษทางอารมณ์ ภาวะเครียดและแรงต้านในการทำงาน
• การกำหนดเป้าหมายในการเดินทางสู่การเป็นผู้นำ (Vision of success)
• การกำหนดแบรนด์ของเอกลักษณ์การเป็นผู้นำของตนเองด้วยPainting Technique(Leadership Branding )
• การกำหนดแผนการเดินทางสู่วิถีผู้นำของตนเอง (Action plan) ในการปฏิบัติให้ดีหรือให้เกินมาตรฐาน
•การกำหนดคำมั่นสัญญาในการนำสมรรถนะของตนเองออกใช้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์
 
ระยะเวลาโครงการ

การอบรมทั้งใน Phase I และ Phase II ใช้เวลาทั้งสิ้นรวม 4 วัน โดยแบ่งเป็นการอบรม
Phase I ใช้เวลา 2 วัน, และการอบรม Phase II ใช้เวลา 2 วัน

 
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละรุ่น 20 คน

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการอบรมและ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนได้มีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็น การนำเสนอ และการร่วมกิจกรรมระหว่างการสัมมนาอย่างเต็มที่

 



วิธีการในการดำเนินการสัมมนา/ฝึกอบรม
วิธีในการดำเนินการสัมมนา/ฝึกอบรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้สูงสุดสำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนา จะใช้วิธีการดังนี้
 
 

Problem based learning
คือการนำเอาประเด็นของปัญหาในใจของผู้เข้าร่วมสัมมนา มาใช้ในการเป็น แกนหลัก ในการเรียนรู้เพื่อ สร้างความสนใจและ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนำหลักการไปใช้ ประโยชน์กับชีวิตประจำวันได้ อย่างสัมฤทธิ์ผลสูงสุด

Experienced and application based facilitation
คือการนำเอากิจกรรมที่ได้มีการปรับแต่ง (customized) ให้เข้ากับสไตล์การเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมสัมมนา
(โดยวิทยากรจะใช้ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ความถนัดเชิงอัจฉริยภาพ ของผู้เข้าร่วมสัมมนามาพิจารณาเพื่อ จัดเตรียมและ ปรับแต่งกิจกรรมต่างๆ ระหว่างการสัมมนา) เพื่อให้เกิดประสบการณ์ในการเรียนรู้สูงสุด อีกทั้งยังก่อให้เกิดข้อคิดใน การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

Intellectual team discussion
คือการแลกเปลี่ยนตัวอย่างและประสบการณ์จริงระหว่างผู้เข้าร่วม ซึ่งวิธีการนี้จะสร้างความสัมพันธ์และ มุมมองให้เกิด การปรับความคิดที่มีประสิทธิภาพ
Three person teaching
การสร้างบทบาทให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา เป็นผู้สอนและแสดงความคิดให้แก่กันและกัน วิธีการนี้จะทำให้ เกิดมุมมองใหม่ใน การเรียนรู้ และเป็นการกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
 

Prerequisite

การวิเคราะห์ความถนัดเชิงอัจฉริยภาพของผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนเพื่อนำผลการวิเคราะห์มาใช้ในการเตรียมการสัมมนาและ นำมาใช้ระหว่างการสัมมนา (ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนจะต้องกรอกแบบสอบถามความถนัดเชิงอัจฉริยภาพและ ส่งกลับเพื่อ ทำการวิเคราะห์อย่างน้อย 5 วันก่อนการสัมมนาใน Phase I)

 
แบบสอบถามความถนัดเชิงอัจริยภาพ
แบบสอบถามความถนัดเชิงอัจฉริยภาพมิใช่แบบทดสอบ ไม่มีผิด ไม่มีถูก (ไม่มีตก หรือ ไม่มีการได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์) ผลวิเคราะห์จากแบบสอบถามคือภาพสะท้อนที่ผู้กรอกแบบสอบถามมองความถนัดเชิงอัจฉริยภาพของตนเองและ ความสามารถ ในการบริหาร ความถนัด เชิงอัจฉริยภาพทั้งในเรื่องงานและในชีวิตส่วนตัว ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สามารถนำไปใช้ใน การวางแผนพัฒนาและ ปรับแต่ง ความสามารถในการบริหารอัจฉริยภาพของตนเองในอนาคต
 
Home    l    About Us    l    Education Program    l    Consulting    l    Clients    l    Online Test
Books & Multi    l    Apic Leadership Review    l    Contact Us